







ออนไลน์ : 4

ประวัติ
ผ้าไหมลายสาเกต หมายถึง ผ้าไหมที่ประกอบด้วยลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ในการทอผ้าไหมของจังหวัดร้อยเอ็ดที่ได้นำเอาลายมัดหมี่พื้นบ้าน 5 ลายที่นิยมทอในกลุ่มชนที่อยู่ในเมืองร้อยเอ็ด มาทอต่อกันในผ้าผืนเดียวกันเปรียบเสมือนเป็นการหลอมรวมความสามัคคีของชาวร้อยเอ็ดให้เป็นหนึ่งเดียว โดยแต่ละลายจะทอคั่นด้วยผ้าสีพื้นสีดอกอินทนิลบก (สีชมพูอมม่วง) ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ลายมัดหมี่พื้นบ้าน 5 ลายที่ประกอบในผ้าสาเกต ได้แก่ ลายโคมเจ็ด ลายนาคน้อย ลายคองเอี้ย ลายหมากจับ ลายค้ำเพา ลวดลายทั้ง 5 ลายนี้ ได้นำมาประยุกต์ไว้ในผ้าผืนเดียวกันและได้มีการประกาศชื่อลายนี้คือ ลายสาเกต เป็นผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2544
(ที่มาข้อมูล : ระบบสารสนเทศศูนย์อนุรักษณ์ผ้าไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
ผ้าไหมลายสาเกต ผ้าขิดลายสาเกต ของตำบลบึงนครเกิดจากการรวมกลุ่มกันในชุมชน เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับครอบครัว เนื่องจากเป็นครอบครัวเกษตรกรรมหลังฤดูเก็บเกี่ยว มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อนำเส้นไยถักทอเป็นเครื่องนุ่งห่มไว้ใช้ในครัวเรือนลดรายจ่ายปัจจุบันยังสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเพิ่มขึ้น เพราะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐส่งเสริมรูปแบบผลิตภัณฑ์ ขยายโอกาสต่อยอดให้กับชุมชนจนเป็นที่ยอมรับในระดับอำเภอจนพัฒนาเป็นสินค้า OTOP ของตำบล
กลุ่มผ้าไหมตำบลบึงนคร มี 3 กลุ่ม ดังนี้
1.กลุ่มทอผ้าไหมบ้านสังข์ หมู่ 6 หมู่ 10
2.กลุ่มทอผ้าไหมลายสาเกต บ้านอีเตี้ย สองพี่น้อง หมู่ 11 หมู่ 5
3.กลุ่มทอผ้าสไบลายขิต มัดหมี่ บ้านโนนราษี หมู่ 7





